วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

BïoGaT Activitie$ *[30-31/oct/07]

เอามาลงก่อง เผื่อได้ใช้ นานไปเด๋วจาลืมเอา ว่าวันไหนทำไรมั่ง

เริ่มจากวันอังคารนะ อะเช๊ ? หุๆ

---------/ ♠ BïoGaT [ 30/oct/07 ] ♠ \----------

- รวบรวมข้อมูลที่หามาได้ทั้งหมดเกี่ยวกับเรื่องก๊าซชีวภาพ

- วางแผนการดำเนินงานของการทำก๊าซชีวภาพ

- ศึกษาถังที่ใช้ในการหมัก

- นำเสนอแผนงานและปรึกษาแนวทางการทำงานกับคุณครูชาลี

- สำรวจถังหมักของพี่ ม.5 แบบคร่าวๆ

- หาและศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่องของชีวโมเลกุล กฎของก๊าซ การทำ Bioethanol และการย่อยสลายของเซลลูโลส

--------- ข้อมูลเพิ่มเติมที่ได้ในวันนี้ -------------

- ได้ศึกษาแบบถังหมักก๊าซชีวภาพ

- ได้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเซลลูโลส จุลินทรีย์ กฎของก๊าซ และสารชีวโมเลกุล

- ออกแบบผังในการทำงาน

---------/ ♠ BïoGaT [ 31/oct/07 ] ♠ \----------

- สัมภาษณ์และปรึกษาป้าเปรี้ยวเกี่ยวกับถังหมักรวมถึงวิธีการหมักก๊าซชีวภาพ

- พิมพ์ขั้นตอนการดำเนินงานและจุดประสงค์การทำงาน

- รวบรวมทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการทำก๊าซชีวภาพเพิ่มเติม

--------- ข้อมูลเพิ่มเติมที่ได้ในวันนี้ -------------

- ตอนที่ป้าเปรี้ยวทำ พลังงานจากก๊าซชีวภาพที่ได้มากที่สุดสามารถต้มน้ำให้เดือดได้หม้อหนึ่ง

- ต้องเอาเศษอาหารออก 2 – 3เดือน / ต่อครั้ง

- หลังจากเริ่มทำการหมักจำเป็นต้องทิ้งเศษอาหารไว้ 15 วันเพื่อให้จุลินทรีย์เริ่มทำงาน

- ได้ข้อมูลเพิ่มเติมจากการค้นหาว่า gas 1 ลูกบาศก์เมตร จะใช้ทามอาหารสำหรับ 1 ครอบครัวได้ 3 มื้อเเล้ว 1 ลบ.ม. จะเท่ากับ 1000 ลิตรจากข้อมุลที่เราหามากล่าวว่า gas ที่ได้จากการหมัก( แบบที่ป้าเปรี้ยวทำ ) จะได้gasวันละประมาณ 5.8 ลิตร (0.0058 ลบ.ม.)ต่ออาหารที่ใส่ลงไป คือ 1 กก.

จะเทียบบัญญัติไตรยางค์ได้ว่าgas 0.0058 ลบ.ม. ใช้อาหาร 1 kg

gas 1 ลบ.ม. ใช้อาหาร 1/0.0058 * 1 = 172.42 kg. ต่อวัน

และเนื่องจากต้องใช้ปริมาณเศษอาหารที่ค่อนข้างมากและจะทำให้เสียเวลามากในการทำ เราจึงเปลี่ยนเป้าหมายใหม่เป็นทดแทนพลังงาน 30 % ในการทำอาหาร 1 มื้อ แทนการทดแทนพลังงานในการทำทั้งหมด

- เศษอาหารที่เหลือในแต่ละวันมีทั้งที่นำไปเป็นอาหารปลา และทำปุ๋ย

-------------------------------------------------

กะว่า ถ้ามีบันทึกการเรียนรู้จะได้เอามาลงคู่กันว่าวันไหนทำอะไรแล้วได้อะไร

เพื่อรายงานอันเพอร์เฟ็กต์ของเรา \ *0* / เย้ ~!! 555+

ไม่มีความคิดเห็น: