จุลินทรีย์เป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่ประกอบด้วย Unicellular หรือ Multicellular ไม่มีการเปลี่ยนแปลงของเซลล์เพื่อทำหน้าที่เฉพาะเหมือนในสิ่งมีชีวิตชั้นสูง
Prokaryote cell Bacteria , Cyanobacteria, Eukaryote cell Fungi , Protozoa , Algae
• Bacteria เป็นโปรคารีโอต ที่ประกอบด้วยเซลล์เดียว มีผนังหุ้มคงรูป รูปร่างหลายแบบ เช่น รูปแท่ง รูปกลม สืบพันธ์ทั้งแบบมีเพศ (Conjugation) และไม่มีเพศ (Binary fission, Budding) พบได้ทั่วไปเช่น Escherichia coli, Staphylococcus spp. , Streptococcus spp.
• Fungi เป็นยูคารีโอต มีทั้งเซลล์เดี่ยว (Yeast) สืบพันธุ์โดย Budding และหลายเซลล์ (Mold) มีรูปร่างเป็น Filamentous ส่วนของเส้นใยเรียก Hyphae ถ้ามาอยู่รวมกลุ่มกันเรียกว่า Mycelium เส้นใยมีทั้งมีผนังกั้นและไม่มี ผนังเซลล์ต่างจากของแบคทีเรีย ราบางชนิดมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า (Mushroom) ราทุกชนิดต้องการอากาศ เจริญได้ดีในที่มีความเป็นกรดสูง สืบพันธุ์ทั้งแบบมีเพศ และไม่มีเพศ ตัวอย่างเช่น Yeast Saccharomyces cerevisiae Mold Aspergillus spp. , Penicillium spp., Mushroom Volvariella volvaceae
• Protozoa เป็นยูคารีโอต มีเซลล์เดียว แต่ไม่มีผนังเซลล์ มีวิวัฒนาการของเซลล์มากที่สุด สืบพันธุ์ทั้งมีเพศและไม่มีเพศ รูปร่างแตกต่างกันมาก เช่น รูปกลม รูปไข่ รูปท่อน กินแบคทีเรียเป็นอาหาร เคลื่อนที่ได้ในบางช่วงของชีวิต มี 3 แบบ คือ 1. Pseudopodium ซึ่งเกิดจากการยืดหดของไซโตพลาสซึมเรียก Ameboid movement เช่น Amoeba 2. Flagella เช่น Euglena 3. Cilia เช่น Paramecium
• Algae เป็นยูคารีโอต มีทั้งเซลล์เดียวและหลายเซลล์ รูปร่างแตกต่างกัน เช่น รูปกลม รูปแฉก รูปกระสวย มีคลอโรฟิลล์ สามารถสังเคราะห์แสงได้ ยังมี pigment อื่น ทำให้มีสีต่าง ๆ กันไป พวกที่เคลื่อนที่ได้จะใช้ Flagella หรือ pseudopodium สืบพันธ์ทั้งแบบมีเพศและไม่มีเพศ พบได้ทั่วไปทั้งแหล่งน้ำ ดิน และที่ชื้นแฉะ
• Virus ไม่จัดเป็นเซลล์ โครงสร้างประกอบด้วย DNA หรือ RNA มีโปรตีนเรียก Capsid หุ้มอยู่ บางชนิดอาจมีเยื่อหุ้ม (Envelope) ไม่สามารถอาศัยอยู่อย่างอิสระได้ จัดเป็น Obligate intracellular parasite พบได้ทั่วไป โดยอาศัยอยู่กับสิ่งมีชีวิต
L i n k :: http://csweb.bsru.ac.th/4034104/Detail3.html
------------------------- [ b¥ :: $ a $ k i a ..* ] ----------------
ประเภทของจุลินทรีย์ที่รู้จัก จำแนกได้ 3 กลุ่ม คือ
1. กลุ่มสร้างสรรค์ เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีคุณภาพ มีประมาณ 10 %
2. กลุ่มทำลาย เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่เป็นโทษ ทำให้เกิดโรค มีประมาณ 10 %
3. กลุ่มเป็นกลาง มีประมาณ 80 % จุลินทรีย์กลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มที่ทำหน้าที่สนับสนุนหรือร่วมด้วยหากพบว่าจุลินทรีย์ 2 กลุ่มแรก กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งมีมากกว่า
ดังนั้น การเพิ่มจุลินทรีย์ที่มีคุณภาพลงในดิน ก็เพื่อให้กลุ่มสร้างสรรค์มีจำนวนมากกว่า ซึ่ง จุลินทรีย์เหล่านี้จะช่วยปรับปรุงโครงสร้างของดินให้กลับมีพลังขึ้นมาอีกหลังจากที่ถูกทำลายด้วยสารเคมีจนดินตายไป ประเภทของ
จุลินทรีย์ จัดแบ่งตามลักษณะความต้องการอากาศ แบ่งได้เป็น 2 ประเภท
1. ประเภทต้องการอากาศ (Aerobic Bacteria)
2. ประเภทไม่ต้องการอากาศ (Anaerobic Bacteria)จุลินทรีย์ทั้ง 2 กลุ่มนี้ ต่างพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน และสามารถอยู่ร่วมกันได้จากการค้นคว้าดังกล่าว ได้มีการนำเอาจุลินทรีย์ที่ได้รับการคัดและเลือกสรรอย่างดีจากธรรมชาติ ที่มีประโยชน์ต่อพืช สัตว์ และสิ่งแวดล้อม มารวมกัน 5 กลุ่ม (Families) 10 จีนัส (Genues) 80 ชนิด (Spicies) ได้แก่
กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกเชื้อราที่มีเส้นใย (Filamentous fungi) ทำหน้าที่เป็นตัวเร่งการย่อยสลาย สามารถทำงานได้ดีในสภาพที่มีออกซิเจน มีคุณสมบัติต้านทานความร้อนได้ดี ปกติใช้เป็นหัวเชื้อผลิตเหล้า ผลิตปุ๋ยหมัก ฯลฯ
กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกสังเคราะห์แสง (Photosynthetic microorganisms) ทำหน้าที่สังเคราะห์สารอินทรีย์ให้แก่ดิน เช่น ไนโตรเจน (N2) กรดอะมิโน (Amino acids) น้ำตาล (Sugar) วิตามิน (Vitamins) ออร์โมน (Hormones) และอื่นๆ เพื่อสร้างความสมบูรณ์ให้แก่ดิน
กลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ในการหมัก (Zynogumic or Fermented microorganisms) ทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นให้ดินต้านทานโรค (Diseases resistant) ฯลฯ เข้าสู่วงจรการย่อยสลายได้ดี ช่วยลดการ พังทลายของดิน ป้องกันโรคและแมลงศัตรูพืชบางชนิด ของพืชและสัตว์ สามารถบำบัดมลพิษในน้ำเสียที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมเป็นพิษต่างๆ ได้
กลุ่มที่ 4 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกตรึงไนโตรเจน (Nitrogen fixing microorganisms) มีทั้งพวกที่เป็นสาหร่าย (Algae) และพวกแบคทีเรีย (Bacteria) ทำหน้าที่ตรึงก๊าซไนโตรเจนจากอากาศเพื่อให้ดินผลิต สารที่เป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโต เช่น โปรตีน (Protein) กรดอินทรีย์ (Organic acids) กรดไขมัน (Fatty acids) แป้ง (Starch or Carbohydrates) ฮอร์โมน(Hormones) วิตามิน (Vitamins) ฯลฯ
กลุ่มที่ 5 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกสร้างกรดแลคติก (Lactic acids) มีประสิทธิภาพในการต่อต้านเชื้อรา และแบคทีเรียที่เป็นโทษ ส่วนใหญ่เป็นจุลินทรีย์ที่ไม่ต้องการอากาศหายใจ ทำหน้าที่เปลี่ยนสภาพดินเน่าเปื่อย หรือดินก่อโรคให้เป็นดินที่ต้านทานโรค ช่วยลดจำนวนจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของโรคพืชที่มีจำนวนนับแสน หรือให้หมดไป นอกจากนี้ยังช่วยย่อยสลายเปลือกเมล็ดพันธุ์พืช ช่วยให้เมล็ดงอกได้ดีและแข็งแรงกว่าปกติอีกด้วย
L i n k :: http://www.tpa.or.th/writer/read_this_book_topic.php?passTo=9d32a69343836d3db900d6684c8d7ccf&bookID=258&pageid=3&read=true&count=true
--- [ b¥ :: $ a $ k i a ..* ] ------------------------------------------------
จุลินทรีย์มีบทบาทมากในอุตสาหกรรมเกษตร ทั้งในทางที่ เป็นประโยชน์และในทางที่เกิดโทษ การศึกษาจุลชีววิทยาทางอุตสาห- กรรมเกษตร จึงเป็นพื้นฐานที่จะทำให้เข้าใจบทบาทของจุลินทรีย์ใน อุตสาหกรรมเกษตร และนำไปสู่การประยุกต์อื่นๆ เช่น กระบวนการผลิต ผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรมเกษตร การควบคุมจุลินทรีย์ที่เป็นโทษไม่ ให้ส่งผลเสียต่อมนุษย์และผลิตภัณฑ์ ตลอดถึงการจัดการของเสียต่างๆ อย่างถูกหลักสุขาภิบาล เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของมวลมนุษยชาติ
อันนี้ก็ไปเปิดเอาเองน๊ะ มีอาไรเยอะแยะเรย คิดว่าน่าจะดีเพราะเปงของนักศึกษาปี 1 แน่ะ *0* -
L i n k :: http://www.agro.cmu.ac.th/e_books/602120/E-learning%20HOME%20PAGE%202.html
----------------------------------------------------------------------
โพสไว้แค่นี้น๊ะ
เรื่องจักรวาลแป๊ะๆอาไยนั่น ช้านมะรุ้วววว
ใครรุ้ววก็เอามาลงทีน้อ ~ = w =
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น