อาจารย์มาโนชหัวหน้าโครงงานฯ ได้เล่าถึงวิธีทดลองวิจัยจนมากลายเป็นผลงานชิ้นนี้ว่า...เริ่มด้วยการ หมักขยะอินทรีย์ปริมาณเท่ากัน 3 ชุดการ ทดลอง คือ เศษอาหาร, เศษผลไม้ และ ใบไม้สด นำเข้าเครื่องบดย่อยและปรับค่า pH ให้เป็นกลาง ผสมกับมูลวัวสดอันเป็นแหล่งจุลินทรีย์คลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วนำลงในถังหมักแบบปิดที่จัดทำขึ้นเอง จากนั้นก็เพิ่มปริมาณขยะอินทรีย์เป็นระยะ โดยต้องใช้ไม้กวนหรือคนให้เข้ากันทุกวัน
“.....ให้ตรวจวัดค่า pH และอุณหภูมิที่เกิดขึ้นระหว่างการหมัก เมื่อหมักครบ 15 วัน วัดผลปริมาณก๊าซที่เกิดขึ้นจากหลอดระดับน้ำที่เชื่อมกับถังปิด โดยใช้หลักการแทนที่ของก๊าซ วัดระดับที่ลดต่ำลงของผิวน้ำในหลอดระดับน้ำ และทดลองก๊าซที่เกิดขึ้นว่าสามารถนำไปหุงต้มได้หรือไม่...”
จากการศึกษาทดลองการหมักอินทรีย์พบว่าต้อง ใช้เวลาถึง 15 วัน จึงจะเกิดก๊าซชีวภาพ ค่า pH อุณหภูมิของการหมักขยะอินทรีย์ทั้ง 3 ชนิด มีค่า pH เฉลี่ยอยู่ในช่วง 6.8-6.9 และอุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ในช่วง 28-29 องศาเซลเซียส
ส่วนปริมาณก๊าซชีวภาพจากการหมักขยะอินทรีย์วัดจากค่าความแตกต่างของระดับน้ำ ปรากฏว่า การหมักจากเศษอาหารปริมาณก๊าซชีวภาพ มากกว่าการหมักจากเศษผลไม้ และใบไม้สด คือ ระดับน้ำของถังหมัก ที่หมักจากเศษอาหารมีระดับน้ำเฉลี่ย 53 ซม.ระดับน้ำของถังหมักที่หมักจากเศษผลไม้มีระดับน้ำเฉลี่ย 42 ซม.ระดับน้ำของถังหมักที่หมักใบไม้สดมีระดับน้ำเฉลี่ย 7 ซม.
นอกจากนี้ การหมักจาก เศษอาหาร ยังเกิดกระบวนการขึ้นอย่าง ต่อเนื่อง เพราะว่า ถังหมักจากผลไม้มีความเป็นกรดก่อนเริ่มหมักสูง ต้องปรับ pH ด้วย NaOH ค่อนข้างมาก ส่วนถังหมักจากใบไม้ไม่ค่อยย่อยสลายจึงเกิดก๊าซชีวภาพน้อยมาก
ทั้งนี้ ในการเตรียมสภาพขยะอินทรีย์ ต้องคัดแยกสิ่งไม่เหมาะสมต่อการย่อยสลายของจุลินทรีย์ออกเสียก่อน เช่น กระดูกชิ้นใหญ่, ไม้จิ้มฟัน, ไม้เสียบลูกชิ้น, กระดาษทิชชู, ฝาน้ำอัดลม, พลาสติกและ ฯลฯ แล้วทำการบดย่อยให้มีขนาดเล็กที่สุด...
ต้นทุนที่ใช้ในการทำถังผลิตก๊าซชีวภาพอยู่ที่ 20,000 ถึง 40,000 บาท...ซึ่งคุ้มค่าในยุคปัจจุบันที่น้ำมันแพง รายละเอียดเพิ่มเติมจาก อาจารย์มาโนช แสงทอง โรงเรียนวัดเจ็ดริ้ว (สาครกิจโกศล) อ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร ในเวลาราชการ.
วันจันทร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2550
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น