วันพุธที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2551

story of YEAST............????????

ยีสต์ (Yeast) เป็นจุลินทรีย์ที่ให้ทั้งคุณและโทษ ยีสต์เป็นจุลินทรีย์ชนิดแรกที่มนุษย์นำมาใช้ประโยชน์ รายงานเรื่องแรกเกี่ยวกับการใช้ยีสต์คือ การหมักเบียร์ชนิดหนึ่งที่เรียกว่า Boozah เมื่อประมาณ 6,000 ปีก่อนคริสตกาลยีสต์มีคุณสมบัติเปลี่ยนน้ำตาลให้เป็นคาร์บอนไดออกไซด์และแอลกอฮอล์ คนไทยใช้ประโยชน์จากยีสต์ในการทำเครื่องดองของเมา อาทิ กระแช่ สาโท ข้าวหมาก โดยเรียกมันว่า เชื้อหมักหรือส่าเหล้า ขนมปังที่เป็นอาหารหลักของคนหลาย ๆ ประเทศ ก็เชื่อกันว่า เกิดขึ้นครั้งแรกบนโลกด้วยความบังเอิญ โดยพ่อครัวชาวอียิปต์ได้ทิ้งแป้งที่นวดไว้เพื่อปรุงอาหาร แล้วต่อมาพบว่า แป้งนั้นมีการพองตัวขึ้นซึ่งเกิดจากกระบวนการย่อยสลายแป้งของยีสต์ในธรรมชาติ เมื่อนำแป้งไปอบจึงได้กลายเป็นอาหารชนิดหนึ่งที่รสชาติดีหรืออีกนัยหนึ่งก็คือขนมปังก้อนแรกของโลกนั่นเอง ปัจจุบันมีการนำยีสต์มาใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมหลายประเภท เป็นต้นว่าการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ชนิดต่าง ๆ เช่น เบียร์ ไวน์ และ วิสกี้ การผลิตเอธิลแอลกอฮอล์เพื่อใช้เป็นสารเคมีและเชื้อเพลิง การผลิตเซลล์ยีสต์ เพื่อใช้เป็นยีสต์ขนมปังและเป็นโปรตีนเซลล์เดียว บริวเวอร์ยีสต์ (BRE-WER iS YEAST) หรือโปรตีนเซลล์เดียว ค้นพบจากการทำอุตสาหกรรมเบียร์ บริวเวอร์ยีสต์จะมีกรดอะมิโน ถึง 16 ตัว มีแร่ธาตุอื่น ๆ เช่น โครเมียมและซิเลเนียม นอกจากนี้ยังมีวิตามินอื่น ๆ เช่น วิตามินบี ที่สำคัญ ๆ อีกหลายตัว ปัจจุบันจึงมีผู้นำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารออกมาขายเนื่องจากมีวิตามิน บี คอมเพล็กซ์ อยู่มาก จึงมีการกล่าวอ้างว่า บริวเวอร์ยีสต์จะช่วยบรรเทาเรื่องโรคเก๊าต์ได้ แต่ไม่น่าจะเป็นเช่นนั้นเพราะ ขนาดในการใช้ที่เหมาะสมยังไม่มีข้อมูลแน่นอนกำหนดไว้ และควรหลีกเลี่ยงการใช้กับผู้ป่วยที่เป็นโรคเก๊าท์ เนื่องจากบริวเวอร์ยีสต์นี้มีปริมาณ กรดนิวคลิอิก (neucleic acid) อยู่สูง ซึ่งนำไปสู่การสร้างพิวรีน (purine) ที่เป็นสารซึ่งเราไม่ต้องการให้มีมากในผู้ป่วยโรคเก๊าต์ ยีสต์กับการมีผิวสวย ไม่เพียงบริวเวอร์ยีสต์ที่มีคนนำมาขายเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ยังมียีสต์ในอีกรูปแบบหนึ่ง คือ “เบต้า กลูแคน” ซึ่งเป็นสารที่สกัดได้จากผนังเซลล์ของยีสต์ที่ใช้หมักขนมปังหรือการผลิตเบียร์ จากการทดลองเบื้องต้นพบว่า เบต้ากลูแคนนี้มีคุณสมบัติกระตุ้นระบบภูมิต้านทานโรคช่วยเยียวยาสมานแผล จึงมีการกล่าวอ้างสรรพคุณว่า เบต้ากลูแคนจะช่วยทำให้ผิวพรรณสวยงามขึ้น ซึ่งยังไม่มีผลทดสอบที่ชัดเจนในเรื่องปริมาณการใช้ อีกทั้งการทดสอบทั้งในแง่ประโยชน์และผลข้างเคียงดังนั้นผู้บริโภคควรระมัดระวัง อย่าเพิ่งหลงเชื่อโฆษณาหมายเหตุ...ยีสต์ คือรากลุ่มหนึ่งที่ส่วนใหญ่เป็นเซลล์เดี่ยว มีรูปร่างหลายแบบเช่น รูปร่างกลม รี สามเหลี่ยม รูปร่างแบบมะนาวฝรั่ง เป็นต้น ส่วนใหญ่มีการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศโดยวิธีการแตกหน่อ พบทั่วไปในธรรมชาติในดิน ในน้ำ ในส่วนต่าง ๆ ของพืช ยีสต์บางชนิดพบอยู่กับแมลงและในกระเพาะของสัตว์บางชนิด แต่แหล่งที่พบยีสต์อยู่บ่อย ๆ คือแหล่งที่มีน้ำตาลความเข้มข้นสูง เช่น น้ำผลไม้ น้ำผึ้ง และผลไม้ที่มีรสหวาน ยีสต์ที่มีอยู่ตามธรรมชาติมักจะปนลงไปในอาหารเป็นเหตุทำให้อาหารเน่าเสียได้

ยีสต์ใช้เป็นแหล่งอาหารโปรตีนสำหรับมนุษย์และสัตว์และมีประโยชน์ในอุตสาหกรรมหลายชนิด เช่น อุตสาหกรรมแอลกอฮอล์ สุรา ไวน์ ขนมปัง แต่ยีสต์บางสายพันธุ์ก่อให้เกิดโทษได้ด้วย เช่น เป็นสาเหตุของโรคหลาย ชนิดทั้งที่เกิดกับอวัยวะภายในและภายนอก ได้แก่ Cryptococcus meoformans เป็นสาเหตุของโรคเยื่อสมองอักเสบ
ยีสต์ คือสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ต้องอาศัยกล้องจุลทรรศน์ส่องดู ยีสต์จัดเป็นราจำพวกหนึ่ง มีทั้งอยู่ ในคลาสแอสโคไมซีติส (Ascomycetes class) และคลาสเบสิดิโอไมซีติส (Basidiomycetes class) ยีสต์ส่วน ใหญ่จะเป็น เซลล์เดียวที่มีรูปร่างแตกต่างกันออกไปตามสายพันธุ์ เช่น ทรงกลม รี ทรงกระบอก และสามเหลี่ยม บางสายพันธุ์จะมี ลักษณะของเซลล์ยืดยาวออกและต่อกันเป็นสายคล้ายเส้นใย (pseudomycelium)
การสืบพันธุ์ เนื่องจากยีสต์เป็นจุลินทรีย์ที่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยเซลล์ๆ เดียว ดังนั้น การสืบพันธุ์จึงไม่ยุ่งยาก ซับซ้อน เหมือนสิ่งมีชีวิตชั้นสูง การสืบพันธุ์มีทั้งแบบไม่อาศัยเพศและแบบอาศัยเพศ ดังนี้
1. การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ เมื่อเซลล์ของยีสต์เจริญเติบโตเต็มที่ก็จะมีการแตกหน่อ (budding) ให้เซลล์ใหม่ ซึ่งมีโครง สร้าง และองค์ประกอบทุกอย่างเหมือนเซลล์แม่แต่มีขนาดเล็กกว่า ตำแหน่งของเซลล์ที่จะมีการแตกหน่อจะขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ บางสายพันธุ์จะแตกหน่อบริเวณปลายขั้วข้างใดข้างหนึ่ง หรือแตกหน่อที่ปลายทั้ง 2 ข้าง หรืออาจจะแตกหน่อได้รอบเซลล์ แต่มี บางสายพันธุ์เมื่อเซลล์เจริญเติบโตเต็มที่แล้วก็จะแบ่งตัวออกเป็น 2 ส่วนเท่าๆ กัน (fission) คล้ายแบคทีเรีย ได้เซลล์ใหม่ 2 เซลล์
2. การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ เป็นการสืบพันธุ์ที่อาศัยเซลล์สืบพันธุ์ 2 ชนิด ซึ่งจะไม่ยุ่งยากและซับซ้อนเหมือนในสิ่งมี ชีวิตชั้นสูง ตลอดจนเซลล์สืบพันธุ์ในกรณีของยีสต์ยังไม่สามารถแบ่งแยกออกอย่างเด่นชัดว่าเป็นเพศผู้หรือเพศเมีย ดังนั้น จึงแบ่งเรียกว่า a และ a การสืบพันธุ์แบบมีเพศของยีสต์นี้แบ่งออกได้ เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ
* ในกลุ่มแอสโคไมซีติส สปอร์ของการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศจะเกิดในโครงสร้างที่มีลักษณะคล้ายถุงที่เรียกว่า “แอสคัส” (ascus) ส่วนใหญ่จะมีปริมาณตั้งแต่ 1 ถึง 4 สปอร์ แต่ก็มีบางสายพันธุ์จะมีปริมาณสปอร์ตั้งแต่ 8 ถึง 16 สปอร์ ซึ่งไม่มากนัก ได้แก่ ยีสต์ในกลุ่ม Lipomyces
ในกลุ่มเบสิดิโอไมซีติส สปอร์ของการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศจะเกิดอยู่ในโครงสร้างที่เรียกว่า เบสิเดียม (basidium)
การจัดจำแนกชนิด
การจัดกลุ่มและจำแนกชนิดของยีสต์ อาศัยคุณสมบัติทางกายภาพ เคมี และโภชนาการที่แตกต่างกัน ดังนี้
1. รูปร่างลักษณะของเซลล์ เช่น รูปกลม รูปรี รูปทรงกระบอกสามเหลี่ยม เส้นใย
2. ลักษณะการสืบพันธุ์ แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้
* ลักษณะการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ เช่น การแตกหน่อ (budding) และแบ่งเซลล์เป็น
2 ส่วน (fission)
* ลักษณะการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ เช่น ลักษณะรูปร่างของสปอร์
3. ความต้องการอาหาร ชนิดของน้ำตาล ชนิดของแหล่งอาหารไนโตรเจนในการดำรงชีวิต เป็นต้น
4. ชนิดของน้ำตาลที่สายพันธุ์ยีสต์หมักได้ (fermentedsugar)

วันอาทิตย์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2551

ยีสต์ ... YeasT –>>

Yeast (ยีสต์) เป็นกลุ่มของ "ฟังไจ" เซลเดี่ยว (a group of single-celled (unicellular) fungi) ซึ่งบางสายพันธ์ (species) ถูกนำมาใช้ในการทำให้ขนมปังขึ้นฟู หรือใช้ในการหมักเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอลชนิดต่างๆ ตลอดจนในปัจจุบันนี้นำมาใช้ในการผลิตเชื้อเพลิงพลังงานทางเลือก/เชื้อเพลิงพลังงานทดแทน เป็นต้น

ยีสต์ทั้งหมด เป็นสิ่งมีชีวิตที่อยู่ใน Ascomycota division ยีสต์บางชนิดสามารถก่อให้เกิดโรคแก่มนุษย์ได้ เช่น Candida albicans เป็นต้น ปัจจุบันนี้ ได้มีการค้นพบยีสต์แล้วกว่าพันสายพันธ์ ยีสต์ที่มีการใช้กันอย่างแพร่หลาย และเป็นที่นิยมกันมากในการนำมาใช้เพื่อการหมัก และผลิต ขนมปัง ไวน์ เบียร์ และสุรา คือ Saccharomyces cerevisiae

ยีสต์สายพันธ์ต่างๆ นั้น มีทั้งที่มีคุณสมบัติทางกายภาพ เป็นแบบต้องการออกซิเจน (aerobic) และไม่ต้องการออกซิเจน(anaerobic) ในสภาวะ/สิ่งแวดล้อมที่ปราศจากออกซิเจนนั้นยีสต์ก่อให้เกิดปฏิกิริยาในการหมัก โดยพลังงานจากยีสต์ทำให้น้ำตาลเปลี่ยนไปเป็นคาร์บอนไดออกไซด์ และเอทานอล (แอลกอฮอล) ในขบวนการผลิตแอลกอฮอล (brewing) ทำให้ได้เอทานอลที่ถูกนำมาบรรจุขวดเพื่อการบริโภค ในขณะที่ ในการทำขนมอบนั้น คาร์บอนไดออกไซด์ช่วยทำให้ขนมปังฟูขึ้นมา ส่วนเอทานอลนั้นระเหยไปในอากาศ

สมการที่แสดงการทำงานของยีสต์ คือ

C6H12O6 (น้ำตาลกลูโคลส, glucose) --------------> 2C2H5OH + 2CO2

วิธีการขยายพันธ์ของยีสต์ นั้น คือ (1) แบบไม่มีเพศ คือขยายพันธ์ค้วยการแตกหน่อจากต้นพันธ์ภายใต้สภาวะแวดล้อมที่อำนวย เมื่อหน่อใหม่เจริญวัยจนเป็นยีสต์สมบูรณ์แล้ว มันก็จะแยกตัวออกจากต้นพันธ์เดิม ไปเป็นยีสต์ต้นใหม่ ต่อไป (2) แบบมีเพศ ด้วยการสร้างสปอร์ เกิดภายใต้สภาวะที่มีสารอาหารต่ำ ยีสต์ที่สามารถขยายพันธ์แบบมีเพศนั้น มีการสร้าง ascospores ยีสต์ที่ไม่สามารถผ่านขั้นตอนการขยายพันธ์อย่างเต็มรูปแบบ/ครบวงจรของแบบมีเพศนั้น จะถูกจัดให้อยู่ใน genus Candida

ยีสต์หลายชนิดสามารถแยกอยู่อย่างเดี่ยวๆ ในผลไม้ที่อุดม/มีอยู่อย่างสมบูรณ์ ไปด้วยน้ำตาลตามธรรมชาติ ได้แก่ องุ่น แอปเปิ้ล และลูกท้อ หรือผลไม้ไทย ได้แก่ ลำไย และผลไม้รสหวานทุกชนิด รวมทั้งอยู่ในพืชอุ้มน้ำต่างๆ หรือในต้นตะบองเพชร (plant saps or cacti) ยีสต์บางชนิดก็พบว่าอยู่รวมกับแมลง
วิธีสามัญหนึ่งในการผลิตอาหารสำหรับเลี้ยงยีสต์ เรียกว่า potato dextrose agar (PDA) หรือ potato dextrose broth โดยการนำหัวมันฝรั่งที่หั่นเป็นชิ้นแล้ว มาต้มกับน้ำในหม้อที่ปิด แล้วให้ความร้อน และความกดดัน (autoclaving) เป็นเวลา 5-10 นาที แล้วจึงเทของเหลวที่ได้ออกใส่ภาชนะอีกใบหนึ่ง ต่อมา ให้เติมน้ำตาลเดกโตรส (กลูโคส) ประมาณ 10 กรัม/ลิตร ก็จะได้ผลผลิตที่สามารถไปใช้เป็นอาหารเพื่อการเพาะ/เลี้ยงยีสต์ ต่อไป

Saccharomyces cerevisiae เป็นสารต้นแบบของสิ่งมีชีวิตที่นักชีววิทยาได้นำมาใช้ในการทดลอง/ศึกษา เรื่องพันธุกรรมและโมเลกุล (genetics and molecular biology) กันอย่างกว้างขวาง
ส่วนในด้านการแพทย์นั้น ยีสต์สามารถนำไปใช้ในการรักษา แผลที่เกิดจากไฟไหม้ (burns) อาการบวมของริดสีดวงทวาร (hemorrhoids) และการเกิดบาดแผลต่างๆ (wounds) ได้ดี ส่วนงานวิจัยใหม่ๆ มีการนำ Saccharomyces cerevisiae มาใช้ในการรักษาผิวหน้าได้เช่นกัน ส่วนการให้ทำให้ยีสต์พวก Candida นั้น เกิดการหยุดการเจริญเติบโต/ขยายพันธ์ จะช่วยรักษาโรคท้องร่วง (diarrhea) และควบคุม/รักษาระดับโคลเลสเทอรอล (controlling cholesterol levels) ได้


L i n K :: http://209.85.175.104/search?q=cache:1AHCvlM4Ds8J:www.dmf.go.th/service/board/show_board.asp%3Fid%3D657+%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A2%E0%B8%B5%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B9%8C&hl=th&ct=clnk&cd=10&gl=th&lr=lang_th

วันพุธที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2551

กฎของบอยล์(Boyle’s law)

“เมื่อความดันคงที่ปริมาตรของก๊าซใดๆ ที่มีมวลคงที่จะแปรผกผันกับความดันของก๊าซนั้นๆ”

V จะแปรผกผันกับ 1/P (เมื่อมวลและอุณหภูมิคงที่)

V = K/P

ดังนั้น PV = K

และจากสมการนี้สรุปได้ว่า "เมื่ออุณหภูมิและมวลของก๊าซคงที่ ผลคูณของความดันและปริมาตรของแก็สใดๆ จะกับค่าคงที่เสมอ"

V
................................
P1V1 = P2V2 = K
................................
*สูตรนี้ใช้ได้เมื่อมวลและอุณหภูมิของก๊าซคงที่เท่านั้น

V = ปริมาตรของแก็ส
P = ความดันของแก็ส
K = ค่าคงที่

..............................................

และแล้วเราก็โพส หุหุ

วันอังคารที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2551

Charle's Law – >

เมื่อความดันคงที่ปริมาณของก๊าซใดๆที่มีมวลคงที่ จะแปรผันตรงกับอุณหภูมิ(เคลวิน)

V แปรผันตรงกับ T เมื่อ P และมวลของก๊าซคงที่ >> V = KT

V/T = K

V1/T1 = V2/T2 = V3/T3 = Vn/Tn = K

*** V1/T1 = V2/T2 ***** เมื่อความดันและมวลคงที่ เท่านั้น น้อ..

T = อุณหภูมิ มีหน่วยเป็นเคลวินเสมอ

V = ปริมาตรก๊าซ

P = ความดันของก๊าซ

K = ค่าคงที่

----------------------------

เค้าไม่ทิ้งให้แบมลงคนเดวแล้วน๊ะ 555+

วันจันทร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2551

CHART BIOGAS..............??????????


แบบถังที่ทำใน powerpoint

COMBINED GAS LAW...................???????

กฎรวมของแก็สเป็นการรวมเอากฎของ Boyle และ กฎของ Charles เข้าด้วยกัน
การรวมกฎทั้ง 2 สามารแจกแจงได้ดังนี้
จากกฎของ Boyle V แปรผันตาม 1/P
จากกฎของ Charles V แปรผันตาม T
ดังนั้น V แปรผันตาม T/P ===> V = kT/P
PV/T = k
เมื่อปริมาตร gas คงที่ จึงได้สูตรรวมว่า

P1V1/T1 = P2V2/T2

โดยที่ V = ปริมาตร gas (cm^3)
P = ความดัน gas (mmHg)
T = อุณหภูมิ (K)
K = ค่าคงที่

วันอาทิตย์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2551

แผนการดำเนินงาน เทอม 3

Week 1 [ 7-11 /jan./ 08]

- ติดตั้งถังหมักและตรวจเช็คระบบให้เรียบร้อย ทั้งถังหมัก ถังเก็บก๊าซและถังก๊าซ
- ทำการหมักขี้วัว
- อ่านเรื่องจุลินทรีย์ หาข้อมูลและอ่านเรื่องปุ๋ยหมัก
- เตรียมอุปกรณ์การทำไบโอเอธานอล ( ภาชนะในการหมัก )


Week 2 [ 14-19 /jan./ 08]

- ปรับค่า ph สารสกัดจากใบไม้
- วัดเปอร์เซ็นต์ของน้ำตาลที่มีในสารสกัด
- เก็บใบไผ่ ฉีก และปั่นเพื่อเตรียมทดลองทำเอธานอลอีกครั้ง


Week 3 [ 22-27 /jan./ 08]
- ติดต่อพี่แม่บ้านและรวบรวมเศษอาหารเพื่อมาทำการหมัก
- คัดแยกกระดูก เศษไม้ และก้างปลาออกเนื่องจากสิ่งเหล่านี้ย่อยสลายได้ยาก
- เติมเศษอาหารใส่ถังหมักทุกวัน วันละ 1 กก.
- ตรวจเช็คถังหมักทุกวันเพื่อป้องกันถังระเบิด


Week 4 [ 29-2 /jan-feb/ 08]
- ทำไบโอเอธานอลอีกครั้ง (อาจมีการปรับเปลี่ยนวิธีการ )
- เติมเศษอาหารใส่ถังหมักทุกวัน วันละ 1 กก.
- ตรวจเช็คถังหมักทุกวันเพื่อป้องกันถังระเบิด